วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ไอซีทีชวนผู้ประกอบการไอที ร่วมงานไอทียู เทเลคอม เวิลด์

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.


ดังนั้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กระทรวงไอซีทีจึงร่วมกับไอทียู ไปประกาศเชิญชวนผู้ประกอบการไอทีกว่า 200 บริษัท ที่มาแสดงโชว์เทคโนโลยี นวัตกรรม และศักยภาพในงาน Mobile Asia Expo 2013 (โมบาย เอเชีย เอ็กซ์โป  2013 ) ณ กรุงเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมี บริษัท หัวเหว่ย, Orang (ออเร้นส์),  at&t,  SAP,  NNTdocomo (เอ็นเอ็นที โดโคโมะ) และโซนี่ รวมถึงบริษัทอุปกรณ์ไอที และธนาคารชั้นนำต่าง ๆ มาร่วมออกงาน


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับโอกาสจากประเทศสมาชิกไอทียู และมองเห็นว่าประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางด้านไอซีที ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเทศไทยถูกจัดอันดับดัชนีชี้วัดความพร้อมใช้ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ (เอ็นอาร์ไอ) ขยับตัวอยู่ที่ลำดับ 74 จากเดิมที่ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 77 ในปี 2555  และการจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสากล (อี-กัฟเวอร์เมนท์) ในบรรดา 55 ประเทศ ซึ่งไทยอยู่ในลำดับที่ 20 จากเดิมอยู่ลำดับที่  23 ในปี 2555 แสดงว่า ประเทศ ไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศอื่น ๆ ในเรื่องของไอซีที เนื่องจากกระทรวงไอซีทีก็เดินหน้าผลักดันโครงการ สมาร์ทไทยแลนด์ ที่เป็นนโยบายของกระทรวงตอบสนองรัฐบาลที่หวังให้ประชากรไทยเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ในปี 2563 ถึง 98%
ดังนั้น การเดินสายโรดโชว์นั้นจึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะเชิญชวนบรรดานักลงทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ต่างชาติ เข้ามาร่วมแสดงในประเทศไทยที่คาดว่าจะก่อให้เกิดเงินสะพัดภายในงานกว่า 2,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้ประเทศไทยทั้งเรื่องโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ในทางอ้อมอีกด้วย
ในขณะเดียว กันการมางานโมบาย เอเชีย เอ็กซ์โป 2013 จะเป็นแนวทางเพื่อคิดในการจัดรูปแบบงาน ภายใต้แนวคิด Emnrcing Change in a digital World  หรือการอ้าแขนรับความเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัล เพื่อให้เหมาะสมกับเทคโน โลยีในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามผลที่ได้รับกลับคืนมาจะช่วยสร้างโอกาสให้คนไทยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปชมงานที่ต่างประเทศ เรียนรู้ โลกาภิวัตน์ นวัตกรรมที่ทันสมัย แล้วนำมาปรับใช้กับประเทศ หรือแม้กระทั่งเปิดหูเปิดตาให้นักพัฒนาคนไทยที่สนใจด้านไอที ถือเป็นสิ่งที่คุ้มค่า.
สุรัสวดี สิทธิย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น